วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของคำ

      คำเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาคำโดด คำของภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเพื่อบอกหน้าที่ที่แตกต่างทางไวยากรณ์หรือเพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยค ความสัมพันธ์ของคำแสดงด้วยการปรากฏร่วมกันของคำและตำแหน่งหรือลำดับที่ปรากฏก่อนหลังของคำ เมื่อคำปรากฏร่วมกันอาจทำหน้าที่แยกกันหรือรวมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยเดียวและทำหน้าที่เดียวกันก็ได้
     เกณฑ์การจำแนกชนิดของคำมีหลายเกณฑ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเกณฑ์จากหนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม ๓ ซึ่งจำแนกคำออกเป็น ๑๒ ชนิด โดยใช้เกณฑ์หน้าที่ เกณฑ์ตำแหน่งที่คำปรากฏและสัมพันธ์กับคำอื่น และเกณฑ์ความหมายประกอบกัน ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำช่วยกริยา คำวิเศษณ์ คำที่เกี่ยวกับจำนวน คำบอกกำหนด คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทาน และคำปฏิเสธ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    ๑. คำนาม เป็นคำที่หมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพธรรมชาติ สถานที่ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามทำหน้าที่เป็นส่วนหลักของนามวลี จำแนกเป็น ๔ ชนิด คือ คำนามสามัญ คำนามวิสามัญ คำลักษณนาม คำอาการนาม 
    ๑.๑ คำนามสามัญ  คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป มิได้ระบุแน่นอนว่าเป็นสิ่งนี้ มีชื่อเรียกอย่างนี้ หรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอย่างนั้น เช่น คน บ้าน วัด โรงเรียน คุณธรรม จิตวิทยา ฯลฯ
    ๑.๒ คำนามวิสามัญ คือ คำซึ่งเป็นชื่อซึ่งตั้งขึ้นเฉพาะสำหรับเรียกคำนามสามัญหนึ่งๆ เช่น สมชาย สมร เป็นชื่อเฉพาะของคน เจ้าแต้ม ย่าเหล ทองแดงเป็นชื่อเฉพาะของสุนัข
    ๑.๓ คำลักษณนาม คือ คำที่ใช้บอกลักษณะของคำนามหรือคำกริยา อาจปรากฏอยู่หน้าหรือหลังคำนามและอยู่ติดกับคำนาม เช่น
              ฝูงผึ้งเข้าจู่โจมศัตรูทันที                     เขาติดแผ่นกระดาษเล็กๆไว้ที่ผนัง
              ส่งจานให้ใบสิ                                     แม่บอกไม่ให้กินข้าวคำน้ำคำ 
           ส่วนคำลักษณนามที่บอกลักษณะของคำกริยาจะปรากฏหลังและอยู่ติดกับคำกริยา เช่น
              ขอกอดที                                            ช่วยหยุดที
          นอกจากปรากฏหลังคำนามและหลังคำกริยาทันทีแล้ว คำลักษณนามทั้งที่บอกลักษณะของคำนามและลักษณะของคำกริยาสามารถบปรากฏตำแหน่งต่างๆที่แน่นอน ดังนี้
         ปรากฏหลังคำบอกจำนวน
              เก้าอี้ ๑๐ ตัว                    เดิน ๒ ก้าว
         ปรากฏหน้าคำบอกลำดับ
              บ้านหลังแรก                    แข่งครั้งที่สอง
         ปรากฏหน้าคำคุณศัพท์
              บ้านหลังใหม่                   รอเที่ยวพิเศษ
         ปรากฏหน้าคำบอกกำหนดชี้เฉพาะ
              ลูกคนนี้                           ไปเที่ยวคราวนั้น
         ปรากฏหน้าคุณานุประโยค
             แมวตัวที่นอนอยู่นั่น      
        ตำนามคำเดียวอาจใช้ลักษณนามได้หลายคำ เช่น
            ผ้า ๒ ชิ้น  ผ้า ๒ ผืน  ผ้า ๒ หลา  ผ้า ๒ ห่อ  ผ้า ๒ พับ  ผ้า ๒ ชนิด
     ๑.๔ คำอาการนาม คือ คำนามที่เกิดจากกระบวนการแปลงคำกริยาเป็นคำนาม โดยการเติมหน่วยคำเติมหน้า การ- หรือ ความ- หน้าคำกริยา คำอาการนามจะมีความหมายเป็นนามธรรม
        คำอาการนามที่ขึ้นต้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า การ- เช่น การกิน  การเดิน การทำงาน ฯลฯ
        คำอาการนามที่ขึ้นต้นหน่วยคำเติมหน้า ความ- เช่น ความโลภ ความดี ความเป็นอยู่
๒. คำสรรพนาม  
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น