วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของคำ

      คำเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาคำโดด คำของภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเพื่อบอกหน้าที่ที่แตกต่างทางไวยากรณ์หรือเพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยค ความสัมพันธ์ของคำแสดงด้วยการปรากฏร่วมกันของคำและตำแหน่งหรือลำดับที่ปรากฏก่อนหลังของคำ เมื่อคำปรากฏร่วมกันอาจทำหน้าที่แยกกันหรือรวมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยเดียวและทำหน้าที่เดียวกันก็ได้
     เกณฑ์การจำแนกชนิดของคำมีหลายเกณฑ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเกณฑ์จากหนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม ๓ ซึ่งจำแนกคำออกเป็น ๑๒ ชนิด โดยใช้เกณฑ์หน้าที่ เกณฑ์ตำแหน่งที่คำปรากฏและสัมพันธ์กับคำอื่น และเกณฑ์ความหมายประกอบกัน ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำช่วยกริยา คำวิเศษณ์ คำที่เกี่ยวกับจำนวน คำบอกกำหนด คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทาน และคำปฏิเสธ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    ๑. คำนาม เป็นคำที่หมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพธรรมชาติ สถานที่ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามทำหน้าที่เป็นส่วนหลักของนามวลี จำแนกเป็น ๔ ชนิด คือ คำนามสามัญ คำนามวิสามัญ คำลักษณนาม คำอาการนาม 
    ๑.๑ คำนามสามัญ  คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป มิได้ระบุแน่นอนว่าเป็นสิ่งนี้ มีชื่อเรียกอย่างนี้ หรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอย่างนั้น เช่น คน บ้าน วัด โรงเรียน คุณธรรม จิตวิทยา ฯลฯ
    ๑.๒ คำนามวิสามัญ คือ คำซึ่งเป็นชื่อซึ่งตั้งขึ้นเฉพาะสำหรับเรียกคำนามสามัญหนึ่งๆ เช่น สมชาย สมร เป็นชื่อเฉพาะของคน เจ้าแต้ม ย่าเหล ทองแดงเป็นชื่อเฉพาะของสุนัข
    ๑.๓ คำลักษณนาม คือ คำที่ใช้บอกลักษณะของคำนามหรือคำกริยา อาจปรากฏอยู่หน้าหรือหลังคำนามและอยู่ติดกับคำนาม เช่น
              ฝูงผึ้งเข้าจู่โจมศัตรูทันที                     เขาติดแผ่นกระดาษเล็กๆไว้ที่ผนัง
              ส่งจานให้ใบสิ                                     แม่บอกไม่ให้กินข้าวคำน้ำคำ 
           ส่วนคำลักษณนามที่บอกลักษณะของคำกริยาจะปรากฏหลังและอยู่ติดกับคำกริยา เช่น
              ขอกอดที                                            ช่วยหยุดที
          นอกจากปรากฏหลังคำนามและหลังคำกริยาทันทีแล้ว คำลักษณนามทั้งที่บอกลักษณะของคำนามและลักษณะของคำกริยาสามารถบปรากฏตำแหน่งต่างๆที่แน่นอน ดังนี้
         ปรากฏหลังคำบอกจำนวน
              เก้าอี้ ๑๐ ตัว                    เดิน ๒ ก้าว
         ปรากฏหน้าคำบอกลำดับ
              บ้านหลังแรก                    แข่งครั้งที่สอง
         ปรากฏหน้าคำคุณศัพท์
              บ้านหลังใหม่                   รอเที่ยวพิเศษ
         ปรากฏหน้าคำบอกกำหนดชี้เฉพาะ
              ลูกคนนี้                           ไปเที่ยวคราวนั้น
         ปรากฏหน้าคุณานุประโยค
             แมวตัวที่นอนอยู่นั่น      
        ตำนามคำเดียวอาจใช้ลักษณนามได้หลายคำ เช่น
            ผ้า ๒ ชิ้น  ผ้า ๒ ผืน  ผ้า ๒ หลา  ผ้า ๒ ห่อ  ผ้า ๒ พับ  ผ้า ๒ ชนิด
     ๑.๔ คำอาการนาม คือ คำนามที่เกิดจากกระบวนการแปลงคำกริยาเป็นคำนาม โดยการเติมหน่วยคำเติมหน้า การ- หรือ ความ- หน้าคำกริยา คำอาการนามจะมีความหมายเป็นนามธรรม
        คำอาการนามที่ขึ้นต้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า การ- เช่น การกิน  การเดิน การทำงาน ฯลฯ
        คำอาการนามที่ขึ้นต้นหน่วยคำเติมหน้า ความ- เช่น ความโลภ ความดี ความเป็นอยู่
๒. คำสรรพนาม  
         

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาวรรณศิลป์


1.  ภาษาวรรณศิลป์คืออะไร
                      วรรณศิลป์   คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือ 
ภาษาวรรณศิลป์  หมายถึง  ภาษาที่เป็นศิลปะ ใช้ในการแต่งหนังสือ
 เป็นความงามทางการประพันธ์โดยเฉพาะ
 2.  ความไพเราะตามแบบวรรณศิลป์คืออย่างไร
ความไพเราะตามแบบวรรณศิลป์อาจจะจำแนกได้หลายแบบแต่ที่นับว่าสำคัญควรกล่าวถึงคือ
       
1.  ไพเราะด้วยเสียงสัมผัสของคำ  ได้แก่
                 1.1  เสียงพยัญชนะสัมผัส   หมายถึง  ใช้พยัญชนะ
เสียงเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน วางเรียงติดกันหรือใกล้เคียงกัน
  เช่น
                             ก.  นกน้อยนอนแนบน้ำ                    ในนา
                                   ตมเตอะติดเต็มตาม                    ตื่นเต้น
                                             (โคลงโบราณ)
                 1.2  เสียงสระสัมผัส  คือ เล่นเสียงสระเสียงเดียวกันสัมผัสกันนอกจากสัมผัสนอกอันเป็นสัมผัสบังคับแล้ว   สัมผัสในต่ละวรรคจะช่วยเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้น เช่น
                            ก.  ดูหนูสู่รูงู                               งูสุดสู้หนูสู้งู
                                 หนูงูสู้ดูอยู่                             รูปงูทู่หนูมูทู
                                   (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก เจ้าฟ้ากุ้ง

                  1.3เสียงวรรณยุกต์สัมผัส
(การเล่นเสียงวรรณยุกต์)  คือ
การเล่นเสียงวรรณยุกต์ระดับต่าง ๆ
  ติด ๆ  กันเช่น
                            ก. เรือมาฟองฟ่องฟ้อน                  กลหงษ์
                                       (กำสรวลโคลงดั้น)
         2 . ไพเราะด้วยความหมาย  คือ  มีความหมายซาบซึ้ง  เช่น
                           ก.     ตราบขุนศิริขัน               ขาดสลาย     แลเม่
                        รักบ่หายตราบหาย                    หกฟ้า
                      สุริยจันทรจาย                            จากโลก  ไปฤา
                    ไฟแล่นล้างสี่หล้า                         ห่อนล้างอาลัย
                                      (นิราศนรินทร)
       3 . อลังการทางภาษา
                อลังการ   แปลว่า  การตกแต่งหรือการประดับประดา 
หมายถึงการตกแต่งถ้อยคำให้ เหมาะเจาะเพริศพริ้งในแง
ต่าง ๆ
 เพื่อความไพเราะทางภาษา การประดับประดาดังกล่าวนี้มีหลายแบบ
ที่นับว่าสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ในการสร้างภาษาวรรณศิลป์ก็คือ

              3.1  การสร้างจินตภาพ   ได้แก่  การใช้ถ้อยคำที่เด่นทั้งเสียง
และความหมายในการแต่ง
ข้อความจนทำให้เห็นภาพเด่นชัดในจินตนาการ
 ทั้งนี้โดยไม่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบ เป็นเครื่องช่วยเหลือแต่ประการใด  

 ตัวอย่างเช่น
                  ก.  โอเวลาป่านฉะนี้ก็สายัณห์  คนทั้งหลายเขาเรียกกิน
อาหาร
บ้างก็เล้าโลมลูกหลานให้  อาบน้ำแล้วหลับนอน  แต่สองบังอร
ของพ่อนี้ใครเขาจะปรานีให้นมน้ำ
  ก็จะตรากตรำลำบากใจที่ไหน
จะเดินได้ด้วยพระบาทเปล่า
ทั้งไอแดดจะแผดเผาพุพอง 
จะชอกช้ำคล้ำเป็นหนองลงลามไหล  
                 ข.  เสียงนกกรวิกนั้นไซร์    แลมีเสียงอันไพเราะมากถูกเนื้อ
พึงใจ
ฝูงสัตว์ทั้งหลาย   แม้ว่าเสือจะเอาเนื้อไปกินก็ดี  ครั้งว่าได้ยินเสียง
นกกรวิกนั้นร้อง
  ก็ลืมเสีย แลมิอาจเอาเนื้อไปกินได้เลย  แลเม้นว่าเด็กอัน
ท่านใส่ตีแลแล่นหนี
 ครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็บมีรู้สึกที่จักแล่นหนี
ได้เลย
    แลว่านกทั้งหลายอันที่บินไปบนอากาศครั้งว่าได้ยินเสียงแห่ง
นกกรวิกก็บมีรู้สึกที่จะบินไป ปลาในน้ำก็ดี ครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้อง
ก็บมิรู้สึกที่ว่าจะว่ายไปได้เลย
  แลว่าเสียงแห่งนกกรวิก
นั้นมันเพราะหนักหนา

            3.2  การสร้างภาพพจน์  (Figvres of Speech)              
                         ได้แก่การใช้ถอยคำบรรยายหรือพรรณนาอย่างแจ่มแจ้ง 
จนกระทั่งอ่านหรือฟังแล้วและเห็นเป็นภาพเด่นชัด ทั้งนี้โดยอาศัย
การเปรียบเทียบแบบต่าง ๆ
 เป็นเครื่องช่วยในการเปรียบเทียบมีหลาย
แบบที่นับว่าใช้กันแพร่หลาย เช่น

                        3.2.1  การเปรียบเทียบอุปมา   คือ  การนำสิ่งหนึ่งที่รู้จัก
กันดีแล้วมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง
  เพื่อให้เห็นภาพชัดหรือ
เข้าใจดียิ่งขึ้นการเปรียบเทียบแบบนี้มีหลักอยู่ว่าจะต้องมีตัวเชื่อมคือ
บุพบทหรือสันธานอยู่เสมอ
 ได้แก่คำว่า  เหมือน  ดัง  ราว  ราวกับเพียง
 เพียง  ดัง ปิ้ม   ปิ้ม่า  เฉกเช่น  ฉัน  เฉกเช่น  ประหนึ่ง  ประหนึ่งว่า  ดุจ
 ดุจดัง
  ประดุจ  เสมอ  เสมอด้วย  เสมือน  เสมือนหนึ่ง  ปาน
ปิ้มบ่าน  ปานหนึ่ง  พ่าง  พ่างเพียง  เปรียบ  ฯลฯ
        ก. แล้วว่าอนิจจาความรัก               พึงประจักษ์ดังสายน้ำไหล
            ตั้งแต่จะเชี่ยวไปเกลี่ยวไป          ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
        ข. โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ               เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ
            เหมือนดวงดาววาววาวอยู่ไกลกัน ชิดสวรรค์สุดเอื้อมมาเขยชม
        ค. ยินพระยศเกริกเกรี้ยง                  เพียงพอแผ่นฟากฟ้า 
            หล้าล่มเลื่องชื่อส่อง
        ง. เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง           ไอศูรย์   สรวงฤา
            เย็นพระยศปูนเดือน                เด่นฟ้า
        จ. เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง       นวลปราง
            รักดุจรักนุชนาง                     พี่ม้วย
            ซ้องนางเฉกซ้องนาง             คลายคลี่  ล่งฤา
            โศกพี่โศกสมด้วย                  ดุจไม้นานมี
      ฉ.   รักกันอยู่ขอบฟ้า                    เขาเขียว
            เสมออยู่แห่งเดียว                  ร่วมห้อง

                       3.2.2  การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์
            ได้แก่การเปรียบเทียบตรง ๆ  โดยใช้คำกริยา  “เป็น”  “หรือ”  คือ
 นำหน้าคำหรือข้อความที่จะนำมาเปรียบ  เช่น
            1. เขาคือสุนทรภู่ในปัจจุบันนี้
            2. หล่อนเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่
            3. ดวงตามคือหน้าต่างของหัวใจ
3.2.3  การเปรียบเทียบแบบเกินความจริง  (โวหารอธิพจน์)
เป็นการพรรณนาที่เกินขอบเขตของความจริง  อาจจะเป็นไปไม่ได้หรือไม่มี
ทางจะเป็นไปได้แต่แม้กระนั้นก็น่าฟังเพราะทำให้เกิดความซาบซึ้งประทับใจ
ทั้ง
    ที่รู้ว่าไม่เป็นจริง  เช่น
            ก.  การบินไทย                     รักคุณเท่าฟ้า
            ข.  เรียมรำน้ำเนตรถ้วม           ถึงพรหม
                พาล่ำสัตว์จ่อมจม               ชีพม้วย
                พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม         ทบท่าว  ลงแฮ
                หากอกนิษฐพรหมฉ้วย        พี่ไว้จึงคง

                      3.2.4  บุคคลรัต   คือ ภาพพจน์ที่เกิดจากการเปรียบเทียบ
 โดยนำสิ่งที่ไม่มีชีวิตมากกล่าวให้มีกริยาอาการเหมือนคน  เช่น  ทะเลไม่เคยหลับ
 หยาดน้ำค้างเต้นระบำ  เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น
                      3.2.5  การใช้ภาษาสัญญลักษณ์   หมายถึง  การนำคำหนึ่งมา
ใช้แทนอีกคำหนึ่ง โดยถือว่าคำที่นำมาใช้แทนนั้น
  ต้องมีลักษณะเป็นเครื่องหมาย
หรือสัญญลักษณ์ที่รู้จักและเข้าใจความหมายกันในอย่างด ีเช่น
  ฉัตรเป็น
สัญญลักษณ์ของความเป็นใหญ่  หรือดวงใจ เป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งอันเป็น
ที่รักอย่างยิ่งดังนี้  เป็นต้น
            
            (ก)   ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชย์  เยียววิวาทชิงฉัตร
            (ข)   โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ      เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ

            (ค)   น้าวมกุฎมานบ  น้อมพิภพมานอบ 
                    มอบบัวบาทวิบุล

                  3.2.6 สัทพจน   คือ  การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ  เช่น
 ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง เรียมครวญ
                  3.2.7 อัพภาส   คือ  การกร่อนคำซ้ำให้พยางค์หน้าเหลือเพียงสระอะ เช่น
 ระริก ระริก

                  3.2.8 ปฏิพากย์ คือ  การใช้คำตรงกันข้าม  เช่น
เสียงน้ำกระซิบสาดปราศจากเสียง
   ลมหนาวพัดอ้าวจนหนาวเหน็บเจ็บกระดูก
                  3.2.9  คำถามเชิงวาทศิลป์
                           -  คำถาม  ไม่ต้องการคำตอบ
                          -  ศรีสุวรรณมิใช้อาของเจ้าหรือ
                         -  วันนี้เรียนภาษาไทยไม่ใช่หรือ
                         -  วันนี้เรียนพละมิใช่หรือ


วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การสร้างคำสมาส

คำสมาส
คำสมาส คือ คำบาลีหรือคำสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน อ่านออกเสียงต่อเนื่องกันและแปลจากข้างหลังมาข้างหน้าเสมอ เช่น
                บาลี         +            สันสกฤต           =          คำสมาส 
               ทันต         +           แพทย์                 =          ทันตแพทย์ (หมอรักษาทางฟัน)
               อัคคี         +           ภัย                      =          อัคคีภัย (ภัยที่เกิดจากไฟ)
ลักษณะของคำสมาส
   ๑. คำที่นำมาสร้างเป็นคำสมาสจะต้องเป็นคำในภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น เช่น
               ราช (ป., ส.)         +               โอรส(ป.)              =                ราชโอรส
               วีร   (ป., ส.)         +                ชน                       =                วีรชน
               แพทย(ส.)           +                ศาสตร์ (ส.)          =                แพทยศาสตร์
              หมายเหตุ ป. ย่อมาจาก บาลี  ส. ย่อมาจาก สันสกฤต
ข้อสังเกตุ   คำต่อไปนี้ไม่ใช่คำสมาส
                   ผลไม้        เพราะ  "ไม้"  เป็นคำไทย
                   เทพเจ้า     เพราะ  "เจ้า" เป็นคำไทย
                   ภูมิรู้          เพราะ   "รู้"    เป็นคำไทย
นอกจากนี้ คำบาลี-สันสกฤตบางคำที่ลงท้ายด้วยคำว่า  กรรม  ศาสตร์ ศิลป์ วิทยา  ศึกษา เป็นคำสมาส เช่น

        กรรม             :    วิศวกรรม   สถาปัตยกรรม  จิตรกรรม  ศิลปกรรม
        ศาสตร์          :    วิทยาศาสตร์  ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์  ธรรมศาสตร์
        ภาพ              :    ชีวภาพ  เอกัตภาพ  สุนทรียภาพ  มิตรภาพ
        ศิลป์              :    วรรณศิลป์  นาฏศิลป์  วิจิตรศิลป์  เคหศิป์  วาทศิลป์
        วิทยา            :     ชีววิทยา  จิตวิทยา  สุขวิทยา  จริยศึกษา  ธรรมศึกษา
   ๒. คำสมาสจะต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องกันเสมอและแปลจากข้างหลังไปข้างหน้า เช่น

          เทพ     +       บุตร        =       เทพบุตร (เทบ-พะ-บุด) หมายถึง เทวดาผู้ชาย
          อุทก    +       ภัย          =       อุทกภัย  (อุ-ทก-กะ-ภัย) หมายถึง อันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
ข้อสังเกต   คำว่า ผลผลิต  ไม่ใช่คำสมาส เพราะ แปลจากข้างหน้ามาข้างหลัง       
   ๓. ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำหน้าประสมด้วยสระ อะ เมื่อนำมาสร้างคำสมาสจะตัดวิสรรชนีย์ออก เช่น

             ศิลปะ       +       ศึกษา                       =              ศิลปศึกษา
             พละ         +       ศึกษา                       =              พลศึกษา
             สมณะ      +       พราหมณ์                  =               สมณพราหมณ์
             กาละ       +       เทศะ                        =               กาลเทศะ
             อักขระ     +       วิธี                            =               อักขรวิธี
             คณะ        +       บดี                           =               คณบดี
             อิสระ       +       ภาพ                         =               อิสระภาพ
             สาระ       +       คดี                            =               สารคดี
   ๔. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำ "พระ" ซึ่งแผลงมาจาก "วร" ประกอบข้างหน้า เป็น คำสมาสด้วย เช่น พระบิดา  พระหัตถ์  พระมาลา  เป็นต้น

       ข้อสังเกต  คำว่า "พระ" จะต้องมาจาก "วร" แปลว่า เลิศ ประเสริฐ จึงจะเป็นคำสมาส แต่ถ้า
เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ หรือคำ สรรพนาม ไม่ถือเป็นคำสมาส เช่น พระภิกษุ พระสุวรรณวาจก เป็นต้น

ตัวอย่างคำสมาส

    ปิยมหาราช  มหาชน  เอกชน  วีรชน  วีรสตรี  วีรกรรม  วีรบุรุษ  สารคดี  ภาพยนตร์  ปาฐกถา
สุนทรพจน์  พุทธศาสนา  อารัมภบท  อักษรศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  ธนบัตร  พาณิชยการ
เศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรม  คณบดี ชนมพรรษา  ชลประทาน  ชัยพฤกษ์  ดุษฎีบัณฑิต  ไตรปิฎก
ตรีโกณมิติ  เทพบุตร  เทพธิดา  เทศมนตรี  เทศบาล  ทันตแพทย์  ธรรมชาติ  ธรรมศาสตร์  นาฏกรรม
นายกรัฐมนตรี  นิติบัญญัติ  นิติศาสตร์  เบญจเพส  พรหมลิขิต  พันธบัตร  พุทธศักราช  มหาวิทยาลัย
มาฆบูชา  สถาปัตยกรรม  ศัลยกรรม  รัตนโกสินทร์  วรรณคดี  สาธารณสุข  ไสยศาสตร์ อภิชาตบุตร  อัครราชทูต  อากาศยาน  อิสรภาพ  อุณหภูมิ

       

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

การอ่านในชีวิตประจำวัน

๑. การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ

ความหมาย
    การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ คือ การอ่านเพื่อค้นหาสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน ซึ่งผู้เขียนต้องการสื่อ โดยในย่อหน้าหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุดเพียงใจความเดียว นอกจากนั้นจะเป็นพลความหรือส่วนประกอบ ผู้อ่านต้องพิจารณาทั้งสองประการนี้ เพื่อให้สามารถจับใจความได้เร็วขึ้น

ความสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญ

    ๑. เป็นพื้นฐานของการอ่าน โดยสามารถนำไปต่อยอดเป็นการวิเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่อ่านต่อไปได้เพราะการอ่านจับใจความสำคัญทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
    ๒. เป็นการรับทราบข้อมูลในระยะเวลาสั้น เป็นการอ่านคร่าวๆเพื่อค้นหาเพียงใจความสำคัญที่สุด
    ๓. เป็นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านจับใจความสำคัญทำให้ทราบความคิดและความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอด เมื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินค่าสารนั้นแล้ว ก็สามารถเลือกสรรสิ่งที่มีประโยชน์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

หลักการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ

   ๑. อ่าน  ทำความเข้าใจในเนื้อหา พยายามจับใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
   ๒. คิด  คิดตั้งคำถามว่าอะไรเป็นจุดสำคัญของเรื่องหรือใจความสำคัญของเรื่อง
   ๓. เขียน ร่างข้อความที่ได้โดยสรุปไว้เป็นตอนๆ
   ๔. เรียบเรียง นำข้อความที่สรุปไว้มาเรียงให้เป็นข้อความ โดยใช้ภาษาของตนเอง

การอ่านเพื่อการวิเคราะห์

ความหมาย
     วิเคราะห์ คือ แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อนำมาแยกแยะทำความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนย่อยๆ  ดังนั้น ในการอ่านเพื่อวิเคราะห์ ผู้อ่านจึงต้องอ่านเบื้องต้นเพื่อจับใจความสำคัญว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร แล้วตั้งคำถามเพื่อการวิเคราะห์ว่าทำไม  เพราะเหตุใด  การอ่านเพื่อการวิเคราะห์ จะต้องพิจารณาเนื้อหาทั้งด้านศิลปะการเขียนและเนื้อเรื่อง โดยพิจารณาข้อความที่น่าสนใจและนำมาคิดแยกย่อย เพื่อกรองจนได้แก่นสำคัญของเรื่องและนำมาพิจารณาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่อง

ความสำคัญของการอ่านเพื่อการวิเคราะห์

    ๑. ผู้อ่านทราบข้อมูลที่สูงขึ้น
    ๒. ผู้อ่านประทับใจในเรื่องที่อ่าน เมื่อวิเคราะห์จนทราบถึงสาเหตุและความเป็นไปของเรื่อง จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ซาบซึ้งและมองเห็นคุณค่าความงดงามที่แฝงอยู่
    ๓. ผู้อ่านสามารถรู้ถึงความสำคัญหลักของเรื่องได้
    ๔. ผู้อ่านสามารถเห็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างข้อมูลแต่ละส่วน เป็นการพัฒนาทักษะการคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

หลักในการอ่านเพื่อการวิเคราะห์

    ๑. พิจารณารูปแบบของเรื่อง เช่น นิทาน บทร้อยกรอง บทละคร หรือบทความฯลฯ
    ๒. จับใจความสำคัญของเรื่อง
    ๓. แยกพิจารณา โดยจำแนกประเด็นดังนี้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ข้อมูลสนับสนุน
    ๔. พิจารณาทัศนคติของผู้เขียน ว่ามีทัศนคติอย่างไรต่อเรื่องนั้น
    ๕. พิจารณาการเรียงลำดับเหตุการณ์ จากเหตุไปหาผล ผลไปหาเหตุ ตามลำดับเหตุการณ์เป็นต้น
    ๖. พิจารณาการใช้สำนวนภาษา ว่าผู้เขียนมีการใช้ภาษาเหมาะสมกับประเภทของงานเขียนหรือไม่อย่างไร

การอ่านเพื่อประเมินค่า

ความหมาย
     การอ่านเพื่อประเมินค่า คือ การอ่านเพื่ออธิบายลักษณะของงานเขียนว่ามีข้อดี มีคุณค่า หรือมีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง ผู้ประเมินจะต้องวิจารณ์งานเขียนโดยละเอียด หยิบยกแต่ละประเด็นมาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ ตีความหมายที่ซ่อนเร้น ตลอดจนวินิจฉัยคุณค่าที่พบในเนื้อหาทั้ด้านสังคมและด้านอารมณ์และด้านศิลปะการประพันธ์

ความสำคัญของการอ่านประเมินค่า
    ๑. ทำให้เกิดวิจารณญาณ เป็นการใช้วิจารณญาณคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับงานเขียนทุกๆด้านอย่างมีเหตุผล ทำให้ผู้อ่านตัดสินใจงานเขียนนั้นได้ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ มีคุณค่าเพียงใด และสามารถนำไปใช้กับการอ่านข่าวสารในชีวิตประจำวันได้
    ๒. พัฒนาศักยภาพการอ่าน เพราะต้องใช้ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ การวิเคราะห์แล้วจึงประเมินเรื่องที่อ่าน การประเมินคุณค่างานเขียนจะทำให้ผู้อ่านได้ฝึกตนเองในการอ่านและพิจารณาสาร
    ๓. ได้ข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักการอ่านเพื่อประเมินค่า

    ๑. พิจารณาเนื้อหาและส่วนประกอบของเนื้อหา ว่ามีองค์ประกอบใดบ้าง และแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนว่ามีลักษณะอย่างไร สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างไร
    ๒. พิจารณาคุณค่าด้านการใช้ภาษา(วรรณศิลป์)  ว่าเหมาะสมกับเนื้อหา ไพเราะงดงาม สละสลวยน่าอ่าน ให้ทั้งเสียงและความหมายก่อให่เกิดจินตนาการเพียงใด
   ๓. พิจารณาแนวคิด ข้อคิดของผู้เขียน ว่าผู้เขียนนำเสนอเรื่องใดและมีข้อคิดใดบ้างที่มีคุณค่า เสนอแนะแนวทางในการนำข้อคิดที่มีคุณค่าไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                                       

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

ความหมาย   
      การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านออกเสียงงานเขียนที่เป็นความเรียง โดยการเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขระวิธี น้ำเสียงและจังหวะให้เป็นไปตามปกติเหมือนการพูด เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องหรือรสของคำประพันธ์นั้นๆ

หลักการอ่านออกเสียง

     ๑. อ่านตามอักขรวิธี คือการออกเสียงตามหลักเกณฑ์ของภาษาไทย เช่น
        

  •      อ่านออกเสียงควบกล้ำ
              กรีดกราย               กลับกลอก                ขวักไขว่               เขรอะ            ขรุขระ    
             คลับคล้าย             พรวน                        ปลอก                  ปรับ               คว่ำ


  •     อ่านออกเสียงอักษรนำ
              สมัครสมาน               อ่านว่า               สะ - หมัก - สะ - หมาน
              ขมีขมัน                          "                    ขะ - หมี - ขะ - หมัน
              โจรสลัด                         "                    โจน - สะ - หลัด

  •      อ่านแบบเรียงพยางค์
               สมาคม                  อ่านว่า                สะ - มา - คม
               บุษยา                        "                      บุด - สะ -ยา

  •      อ่านออกเสียคำบาลี - สันสกฤต
               เมรุ                         อ่านว่า               เมน
               เมรุมาศ                     "                      เม - รุ - มาด

  •     อ่านออกเสียงคำสมาส
              พุทธศาสนา            อ่านว่า             พุด - ทะ - สาด - สะ - หนา
              อุตสาหกรรม                "                  อุด - ตะ - สา - หะ - กำ

๒. อ่านตามความนิยม คือ การอ่านที่ไม่ได้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ เน้นความไพเราะและความนิยมทั่วไป

              อุดมคติ                อ่านว่า              อุ - ดม - คะ - ติ หรือ อุ - ดม - มะ - ค- ติ
              โบราณคดี               "                    โบ - ราน - คะ - ดี หรือ โบ - ราน - นะ - คะ - ดี
              ดิเรก                        "                    ดิ - เหรก
              ผลไม้                      "                    ผน - ละ - ไม้

๓. การอ่านตัวย่อ ควรอ่านคำเต็มของคำที่ถูกย่อไว้ เช่น

            กห. ได้งบฯจาก กค. ปรับปรุงกองทัพ ๑๐ ล้าน   อ่านว่า
            กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณจากกระทรวงการคลัง ปรับปรุงกองทัพ ๑๐ ล้าน

๔. อ่านตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ มีหลักการที่ต่างกัน เช่น


  • อ่านจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป ถ้าเลขตำแหน่งท้ายเป็น ๑ ให้ออกเสียงว่า "เอ็ด"           

             ๑๑                    อ่านว่า               สิบ - เอ็ด
             ๒๕๐๑                  "                     สอง - พัน - ห้า - ร้อย - เอ็ด


  • อ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลัจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น    

                 ๑.๒๓๔            อ่านว่า             หนึ่ง - จุด - สอง - สาม - สี่
                 ๕๙.๐๑๒              "                  ห้า - สิบ - เก้า - จุด - ศูนย์ - หนึ่ง - สอง

  •  การอ่านตัวเลขบอกเวลา  


               ๒๓.๐๐            อ่านว่า            ยี่ - สิบ - สาม - นา - ลิ - กา
               ๑๒.๓๕               "                  สิบ - สอง - นา - ฬิ - กา - สาม - สิบ - ห้า - นา - ที
               ๖:๓๐:๔๕            "                  หก - นา - ลิ - กา - สาม - สิบ - นา - ที - สี่ - สิบ -ห้า - วิ - นา - ที 

  •   การอ่านบ้านเลขที่ บ้านเลขที่มีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามี ๓ หลัก   


การพัฒนาทักษะการอ่าน

ความรู้พื้นฐานในการอ่าน
       
            การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น การอ่านแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ การอ่านในใจและการอ่านออกเสียง
           - การอ่านในใน เป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ
           - การอ่านออกเสียง เป็นการเปล่งเสียงตามตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายซึ่งอาจมีจุดมุ่งหมายต่างกัน

องค์ประกอบพื้นฐานในการฝึกอ่าน
          ประสิทธิภาพของการอ่านออกเสียง ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญหลายประการดังนี้
          ๑. การฝึกใช้สายตา โดยใช้สายตากวาดข้อความแต่ละช่วงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะอ่านอย่างมีสมาธิ การกวาดสายตาช่วยให้อ่านหนังสือได้รวดเร็วขึ้น
          ๒. ฝึกใช้เสียง การใช้เสียงต้องมีพลังในการอ่าน มีน้ำหนัก มีเสียงดังพอประมาณให้ได้ยินทั่วถึง ใช้เสียงหนักเบาเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
          ๓. ฝึกการใช้อารมณ์ ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเจตนาของผู้เขียน
          ๔. ฝึกอ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำ
          ๕. ฝึกใช้อวัยวะในการออกเสียง
          ๖. ฝึกการวางบุคลิกภาพ

ความสำคัญของการอ่าน
         ๑. การอ่านหนังสือทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้ต่างๆ ทำให้เป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์
         ๒. หนังสือเป็นสื่อที่ดีที่สุด ใช้ง่ายราคาถูก
         ๓. การอ่านหนังสือเป็นการฝึกกระบวนการคิดผ่านสมอง ทำให้เกิดสมาธิ
         ๔. ผู้ที่อ่านหนังสือจะได้ทั้งความคิดและจินตนาการ ทำให้ผู้อ่านมีอิสระในการคิด

มารยาทในการอ่าน
         ๑. ไม่อ่านหนังสือดังสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
         ๒. ไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสารภายในห้องสมุด
         ๓. ไม่นำอาหาร น้ำ เข้าไปรับประทานขณะอ่านหนังสือในห้องสมุด
         ๔. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ในจุดที่บรรณารักษ์กำหนด
         ๕.ไม่ฉีกหนังสือ พับมุม ทำให้หนังสือยับ ชำรุด สกปรก ฉีกขาดหรือสูญหาย
         ๖. การอ่านหนังสือพิมพ์ เมื่ออ่านจบแล้วต้องจัดเรียงหน้าตามเดิม
         ๗. หนังสือที่ผู้อื่นอ่านอยู่ก่อน ควรให้ผู้อื่นอ่านจบแล้วค่อยอ่านต่อ
         ๘. ผู้อ่านควรนั่งอ่านเงียบๆ
         ๙. ไม่อ่านจดหมาย หนังสือ หรือสมุดบันทึกส่วนตัว(อนุทิน) ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       
       

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

       วัฒนธรรมทางภาษานี้น่าคิด    ภาษาไทยไพจิตรเจริญศรี
เทิดพระคุณพ่อขุนรามฯงามทวี       ด้วยภูมีทรงสร้างลักษณ์อักษรไทย
จึงเกิดมีวัฒนธรรมทางภาษา          เจริญเป็นศรีสง่าสมสมัย
ใช้สื่อสารการกิจสัมฤทธิ์ไว             อีกสั่งสอนศิษย์ให้มีวิชา
                                                        (ฐาปะนีย์ นาครทรรพ)