วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาทักษะการอ่าน

ความรู้พื้นฐานในการอ่าน
       
            การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น การอ่านแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ การอ่านในใจและการอ่านออกเสียง
           - การอ่านในใน เป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ
           - การอ่านออกเสียง เป็นการเปล่งเสียงตามตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายซึ่งอาจมีจุดมุ่งหมายต่างกัน

องค์ประกอบพื้นฐานในการฝึกอ่าน
          ประสิทธิภาพของการอ่านออกเสียง ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญหลายประการดังนี้
          ๑. การฝึกใช้สายตา โดยใช้สายตากวาดข้อความแต่ละช่วงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะอ่านอย่างมีสมาธิ การกวาดสายตาช่วยให้อ่านหนังสือได้รวดเร็วขึ้น
          ๒. ฝึกใช้เสียง การใช้เสียงต้องมีพลังในการอ่าน มีน้ำหนัก มีเสียงดังพอประมาณให้ได้ยินทั่วถึง ใช้เสียงหนักเบาเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
          ๓. ฝึกการใช้อารมณ์ ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเจตนาของผู้เขียน
          ๔. ฝึกอ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำ
          ๕. ฝึกใช้อวัยวะในการออกเสียง
          ๖. ฝึกการวางบุคลิกภาพ

ความสำคัญของการอ่าน
         ๑. การอ่านหนังสือทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้ต่างๆ ทำให้เป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์
         ๒. หนังสือเป็นสื่อที่ดีที่สุด ใช้ง่ายราคาถูก
         ๓. การอ่านหนังสือเป็นการฝึกกระบวนการคิดผ่านสมอง ทำให้เกิดสมาธิ
         ๔. ผู้ที่อ่านหนังสือจะได้ทั้งความคิดและจินตนาการ ทำให้ผู้อ่านมีอิสระในการคิด

มารยาทในการอ่าน
         ๑. ไม่อ่านหนังสือดังสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
         ๒. ไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสารภายในห้องสมุด
         ๓. ไม่นำอาหาร น้ำ เข้าไปรับประทานขณะอ่านหนังสือในห้องสมุด
         ๔. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ในจุดที่บรรณารักษ์กำหนด
         ๕.ไม่ฉีกหนังสือ พับมุม ทำให้หนังสือยับ ชำรุด สกปรก ฉีกขาดหรือสูญหาย
         ๖. การอ่านหนังสือพิมพ์ เมื่ออ่านจบแล้วต้องจัดเรียงหน้าตามเดิม
         ๗. หนังสือที่ผู้อื่นอ่านอยู่ก่อน ควรให้ผู้อื่นอ่านจบแล้วค่อยอ่านต่อ
         ๘. ผู้อ่านควรนั่งอ่านเงียบๆ
         ๙. ไม่อ่านจดหมาย หนังสือ หรือสมุดบันทึกส่วนตัว(อนุทิน) ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น