วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

ความหมาย   
      การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านออกเสียงงานเขียนที่เป็นความเรียง โดยการเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขระวิธี น้ำเสียงและจังหวะให้เป็นไปตามปกติเหมือนการพูด เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องหรือรสของคำประพันธ์นั้นๆ

หลักการอ่านออกเสียง

     ๑. อ่านตามอักขรวิธี คือการออกเสียงตามหลักเกณฑ์ของภาษาไทย เช่น
        

  •      อ่านออกเสียงควบกล้ำ
              กรีดกราย               กลับกลอก                ขวักไขว่               เขรอะ            ขรุขระ    
             คลับคล้าย             พรวน                        ปลอก                  ปรับ               คว่ำ


  •     อ่านออกเสียงอักษรนำ
              สมัครสมาน               อ่านว่า               สะ - หมัก - สะ - หมาน
              ขมีขมัน                          "                    ขะ - หมี - ขะ - หมัน
              โจรสลัด                         "                    โจน - สะ - หลัด

  •      อ่านแบบเรียงพยางค์
               สมาคม                  อ่านว่า                สะ - มา - คม
               บุษยา                        "                      บุด - สะ -ยา

  •      อ่านออกเสียคำบาลี - สันสกฤต
               เมรุ                         อ่านว่า               เมน
               เมรุมาศ                     "                      เม - รุ - มาด

  •     อ่านออกเสียงคำสมาส
              พุทธศาสนา            อ่านว่า             พุด - ทะ - สาด - สะ - หนา
              อุตสาหกรรม                "                  อุด - ตะ - สา - หะ - กำ

๒. อ่านตามความนิยม คือ การอ่านที่ไม่ได้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ เน้นความไพเราะและความนิยมทั่วไป

              อุดมคติ                อ่านว่า              อุ - ดม - คะ - ติ หรือ อุ - ดม - มะ - ค- ติ
              โบราณคดี               "                    โบ - ราน - คะ - ดี หรือ โบ - ราน - นะ - คะ - ดี
              ดิเรก                        "                    ดิ - เหรก
              ผลไม้                      "                    ผน - ละ - ไม้

๓. การอ่านตัวย่อ ควรอ่านคำเต็มของคำที่ถูกย่อไว้ เช่น

            กห. ได้งบฯจาก กค. ปรับปรุงกองทัพ ๑๐ ล้าน   อ่านว่า
            กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณจากกระทรวงการคลัง ปรับปรุงกองทัพ ๑๐ ล้าน

๔. อ่านตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ มีหลักการที่ต่างกัน เช่น


  • อ่านจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป ถ้าเลขตำแหน่งท้ายเป็น ๑ ให้ออกเสียงว่า "เอ็ด"           

             ๑๑                    อ่านว่า               สิบ - เอ็ด
             ๒๕๐๑                  "                     สอง - พัน - ห้า - ร้อย - เอ็ด


  • อ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลัจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น    

                 ๑.๒๓๔            อ่านว่า             หนึ่ง - จุด - สอง - สาม - สี่
                 ๕๙.๐๑๒              "                  ห้า - สิบ - เก้า - จุด - ศูนย์ - หนึ่ง - สอง

  •  การอ่านตัวเลขบอกเวลา  


               ๒๓.๐๐            อ่านว่า            ยี่ - สิบ - สาม - นา - ลิ - กา
               ๑๒.๓๕               "                  สิบ - สอง - นา - ฬิ - กา - สาม - สิบ - ห้า - นา - ที
               ๖:๓๐:๔๕            "                  หก - นา - ลิ - กา - สาม - สิบ - นา - ที - สี่ - สิบ -ห้า - วิ - นา - ที 

  •   การอ่านบ้านเลขที่ บ้านเลขที่มีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามี ๓ หลัก   


การพัฒนาทักษะการอ่าน

ความรู้พื้นฐานในการอ่าน
       
            การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น การอ่านแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ การอ่านในใจและการอ่านออกเสียง
           - การอ่านในใน เป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ
           - การอ่านออกเสียง เป็นการเปล่งเสียงตามตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายซึ่งอาจมีจุดมุ่งหมายต่างกัน

องค์ประกอบพื้นฐานในการฝึกอ่าน
          ประสิทธิภาพของการอ่านออกเสียง ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญหลายประการดังนี้
          ๑. การฝึกใช้สายตา โดยใช้สายตากวาดข้อความแต่ละช่วงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะอ่านอย่างมีสมาธิ การกวาดสายตาช่วยให้อ่านหนังสือได้รวดเร็วขึ้น
          ๒. ฝึกใช้เสียง การใช้เสียงต้องมีพลังในการอ่าน มีน้ำหนัก มีเสียงดังพอประมาณให้ได้ยินทั่วถึง ใช้เสียงหนักเบาเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
          ๓. ฝึกการใช้อารมณ์ ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเจตนาของผู้เขียน
          ๔. ฝึกอ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำ
          ๕. ฝึกใช้อวัยวะในการออกเสียง
          ๖. ฝึกการวางบุคลิกภาพ

ความสำคัญของการอ่าน
         ๑. การอ่านหนังสือทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้ต่างๆ ทำให้เป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์
         ๒. หนังสือเป็นสื่อที่ดีที่สุด ใช้ง่ายราคาถูก
         ๓. การอ่านหนังสือเป็นการฝึกกระบวนการคิดผ่านสมอง ทำให้เกิดสมาธิ
         ๔. ผู้ที่อ่านหนังสือจะได้ทั้งความคิดและจินตนาการ ทำให้ผู้อ่านมีอิสระในการคิด

มารยาทในการอ่าน
         ๑. ไม่อ่านหนังสือดังสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
         ๒. ไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสารภายในห้องสมุด
         ๓. ไม่นำอาหาร น้ำ เข้าไปรับประทานขณะอ่านหนังสือในห้องสมุด
         ๔. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ในจุดที่บรรณารักษ์กำหนด
         ๕.ไม่ฉีกหนังสือ พับมุม ทำให้หนังสือยับ ชำรุด สกปรก ฉีกขาดหรือสูญหาย
         ๖. การอ่านหนังสือพิมพ์ เมื่ออ่านจบแล้วต้องจัดเรียงหน้าตามเดิม
         ๗. หนังสือที่ผู้อื่นอ่านอยู่ก่อน ควรให้ผู้อื่นอ่านจบแล้วค่อยอ่านต่อ
         ๘. ผู้อ่านควรนั่งอ่านเงียบๆ
         ๙. ไม่อ่านจดหมาย หนังสือ หรือสมุดบันทึกส่วนตัว(อนุทิน) ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       
       

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

       วัฒนธรรมทางภาษานี้น่าคิด    ภาษาไทยไพจิตรเจริญศรี
เทิดพระคุณพ่อขุนรามฯงามทวี       ด้วยภูมีทรงสร้างลักษณ์อักษรไทย
จึงเกิดมีวัฒนธรรมทางภาษา          เจริญเป็นศรีสง่าสมสมัย
ใช้สื่อสารการกิจสัมฤทธิ์ไว             อีกสั่งสอนศิษย์ให้มีวิชา
                                                        (ฐาปะนีย์ นาครทรรพ)